วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

นาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์




นาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์



การนำนาโนเทคโนโยโลยีมาใช้ทางการแพทย์เป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ได้เริ่มต้นศึกษาวิจัยมาตั้งแต่เมื่อสิบปีที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป กลุ่มประเทศเอเชีย เช่น จีน เกาหลี อินเดีย และสิงคโปร์ ความรู้ใหม่ๆ เหล่านี้ทำให้เกิด เป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า “NANOMEDICINE” ซึ่งที่ผ่านมาในระยะเริ่มต้น พบว่ามีเป้าหมายที่สำคัญอย่างเด่นชัดสามประการด้วยกัน

ประการที่หนึ่ง 
      เพื่อเป็นเครื่องมือใหม่ในการศึกษากระบวนการสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ทั้งหมดโดยใช้แนวทาง Nanotechnology และประยุกต์ใช้ศึกษาความผิดปกติที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดที่รู้จักกันในปัจจุบัน รวมทั้งโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีอีกมากมายหลายร้อยหลายพันโรค ก็คือสิ่งที่ทางการแพทย์เรียกว่า “idiopathic” หมายถึงยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดในปัจจุบันนั่นเอง ยกตัวอย่างพอเป็นสังเขปเช่นโรคเลือดที่ชื่อ ITP (Idiopatic Thrombocytopenic Purpura) หรือโรคปอดที่ชื่อ IPF (Idiopathic Pulmonary Fibrosis) เป็นต้น

ประการที่สอง 
      เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค ปัญหาที่พบในเวชปฎิบัติทั่วไปขณะนี้คือบางโรคยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ในเวลาอันรวดเร็วบางโรคยังต้องใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยา บางโรคอาจต้องติดตามการรักษาไปสักระยะหนึ่งก่อนการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย ดังนั้นเป้าหมายสำคัญในการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ก็เพื่อให้ออกแบบแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆที่รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำมากขึ้นนอกจากนี้ ด้วยหลักการเดียวกัน ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการติดตามผลการรักษาได้อีกด้วย สามารถหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงหรือฤทธิ์อันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการบำบัดรักษาได้มากกว่าเดิม

ประการที่สาม 
      ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ยากที่สุดที่จะเกิดขึ้น เรียกว่า “Nanorobots” ทำหน้าที่ช่วยเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีอยู่ในธรรมชาติทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจากสิ่งแปลกปลอมทั้งที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และก่อให้เกิดโรคออโตอิมมูน ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน แนวความคิดนี้ใกล้เคียงกับ DNA COMPUTER ที่กำลังถูกพัฒนามาแทนที่ Silicon Chip ในเร็ววันนี้


ตัวอย่างนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้แก่  สเต็มเซลล์


       สำหรับวงการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งวงการวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาค้นคว้าการแพทย์ทางเลือกใหม่ “Regenerative Medicine” ที่เป็นความหวังของผู้พิการบางประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการทางสายตา ผู้พิการทางการได้ยิน และผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งการแพทย์ทางเลือกดังกล่าวไม่ได้มีประโยชน์สำหรับคนพิการเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคอื่น เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน  โรคหัวใจ โรคธาลัสซีเมีย  โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม  โรคเบาหวาน ไตวาย ตับแข็ง ฯลฯ  Regenerative Medicine เป็นวิทยาการทางการแพทย์ที่เป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะ เพื่อใช้ทดแทนส่วนที่เสียหายหรือเสื่อมสภาพไป ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนส่วนที่เสียไปได้  โดยวิทยาการนี้ ไม่ได้ใช้ชิ้นส่วนแปลกปลอม เช่น ข้อต่อ เหล็ก ฯลฯ ใส่เข้าไป แต่เป็นการใส่เซลล์ที่มีคุณสมบัติพิเศษเข้าไปสร้างเซลล์ใหม่ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะได้จริง หรือใส่สารชีวภาพที่มีคุณสมบัติคล้ายเนื้อเยื่อจริงใส่เข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ







       สเต็มเซลล์” แบ่งเป็น 2 ประเภทตามแหล่งกำเนิด คือ สเต็มเซลล์จากตัวอ่อน (Embryonic stem cell) และสเต็มเซลล์ร่างกาย (adult stem cell)

(1) สเต็มเซลล์จากตัวอ่อน (Embryonic stem cell) เมื่อมนุษย์เริ่มถือกำเนิดในครรภ์มารดา  …สเปิร์มเข้าปฏิสนธิกับไข่ พัฒนาไปเป็นตัวอ่อน (Embryo) และเจริญเป็นมุนษย์ที่สมบูรณ์ได้นั้น ล้วนเริ่มต้นจากเซลล์ที่แบ่งตัวเพิ่มจำนวนจากหนึ่งเป็นสอง สองเป็นสี่ สี่เป็นแปด และแบ่งต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้กลุ่มเซลล์ในระยะที่เราถือว่าเป็นตัวอ่อน   ตัวอ่อนระยะ 5-7 วัน ที่มีกลุ่มเซลล์ประมาณ 150 เซลล์ เราเรียกว่าระยะบลาสโตซิสต์…ภายในเซลล์บลาสโตซิสต์นี้มีกลุ่มเซลล์เรียกว่า มวลเซลล์ชั้นใน (Inner cell mass) …มวลเซลล์นี้เองที่นักวิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นสเต็มเซลล์   ด้วยเหตุนี้ เราจึงเรียกสเตมเซลล์ที่ได้จากครรภ์มารดาว่า “สเต็มเซลล์จากตัวอ่อน  (Embryonic stem cell, ES cell)”

2)  สเต็มเซลล์ร่างกาย (Adult stem cell หรือ Somatic stem cell หรือ Mature stem cell)    แหล่งของสเต็มเซลล์อีกแหล่งหนึ่งได้มาจาก 1) เนื้อเยื่อและอวัยวะหลายชนิดที่พัฒนาจนสมบูรณ์ในร่างกาย (Mature body tissue) 2) เลือดจากรกและสายสะดือ (Placenta & Umbilical cord) ของทารกแรกเกิด และ 3) ไขกระดูก (Bone Marrow) ของทั้งเด็กและผู้ใหญ่






ที่มา :Bioengineer Talks



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น