วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตัวอย่างหน่วยงานในประเทศไทย

 

ตัวอย่างหน่วยงานในประเทศไทยที่ทำการวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยี 

        


1.ศูนย์นาโนเทคโนโลยี ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการวิจัยในด้านของประดิษฐกรรมและวิศวกรรมนาโนเทคโนโลยี เช่น มีผลงานวิจัยในการผลิตโพลิเมอร์เรืองแสง โดยใช้นาโนเทคโนโลยี ตั้งเป้านำไปทดแทนอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในไฟฟ้า ประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟแบบเดิม และไม่เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพราะย่อยสลายสู่สภาพแวดล้อมได้ง่าย
         ศูนย์นาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล ยังรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียนหลักสูตร Computational Science ระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก ผ่านระบบทางไกล โดยลงทะเบียนเรียน เพื่อรับปริญญาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ. นครศรีธรรมราช แต่ทำวิจัยและเรียนจริงที่ ศูนย์นาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ ปริญญา:Master of Science (M.Sc.) and Doctor of Philosophy (Ph.D.) in Computational Scienceออกโดย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2.คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำ (SDRL) และได้ทำการศึกษาวิจัย พัฒนา และตรวจสอบสารกึ่งตัวนำ
3.ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยฟิสิกส์สารกึ่งตัวนำ และทำการศึกษาสารประกอบกึ่งตัวนำ ซึ่งเป็นสารที่มีศักยภาพสูงในการใช้เป็นสารประกอบเพื่อผลิตเซลล์แสงอาทิตย์
4.ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการวิจัยทางด้านสารกึ่งตัวนำที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี
5.ห้องปฏิบัติการวิจัยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง การวิจัยได้มุ่งเน้นในการผลิตสิ่งประดิษฐ์โครงสร้างของ MOS และได้มีการพัฒนาแผ่นฟิล์มที่ทำด้วยเพชร โดยใช้วิธี CVD
6.มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการวิจัยโดยเน้นไปทางด้านการใช้เทคนิค CVD มาผลิตฟิล์มที่ทำด้วยเพชร
7.ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ (ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี โดยการกำกับดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตอนขึ้นในประเทศไทย ผลสรุปพบว่าประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอในการดำเนินการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซิโครตอน
8.สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สนช.) และบริษัท ยูไนเต็ด เท็กไทล์ มิลส์ จำกัด ประสบความสำเร็จในการผลิต “เสื้อกีฬานาโนเทคโนโลยี” โดยพัฒนาเทคนิคจาก “อนุภาคเงิน” แทรกลงใยผ้าได้ทุกชนิด ช่วยยับยั้งแบคทีเรียจากเหงื่อและรอยดำ พร้อมขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์อันเกิดจากเชื้อรา ซักแล้ว 30 ครั้งผงเงินยังไม่จาง และทดสอบยังไม่พบอาการแพ้ พร้อมส่งต่อเทคโนโลยีให้ภาคอุตสาหกรรมพัฒนาใช้เชิงพาณิชย์ตามโครงการ “แปลงเทคโนโลยีเป็นทุน” ล่าสุดบริษัท ยูไนเต็ด เท็กซ์ไทล์ มิลล์ จำกัด หนึ่งในกลุ่มบริษัทผู้นำอุตสาหกรรมสิ่งทอ และบริษัท อินโนเทค เท็กซ์ไทล์ จำกัด ได้จัดทำเสื้อฉลองครองราชย์๖๐ ปี ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายใต้แบรนด์ I-TEX ด้วยนวัตกรรม I-TEX (SILVER NANO เสื้อไร้แบคทีเรีย) เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย และเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่คนไทยวิจัยคิดค้นขึ้นมา โดยได้มีการจดสิทธิบัตรถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นผลงานการวิจัยของสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท ยูไนเต็ด เท็กซ์ไทล์ มิลล์ จำกัด โดยการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปกติแล้วนวัตกรรมนาโนจะใช้ในวงการต่างๆ แต่สำหรับวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอ เราถือเป็นเจ้าแรกของโลกที่นำนวัตกรรมซิลเวอร์นาโนมาใช้ โดยผลวิจัยของคนไทยจากห้องปฏิบัติการ โดยผลงานชิ้นนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นสุดยอดนวัตกรรมแห่งชาติปี 2548 เป็นรางวัลอันดับ 1 ด้วย ซึ่งคุณสมบัติของซิลเวอร์นาโนจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ระงับกลิ่นเหงื่อและไม่เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ซึ่งเหมาะกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะมีอากาศร้อน นอกจากนี้ วิถีชีวิตที่เร่งรีบของคนในปัจจุบัน ที่ไม่ได้ซักผ้าในทันทีหรือทุกวัน ทำให้ผ้าที่ถูกกองเก็บไว้เกิดการสะสมเชื้อโรค ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของซิลเวอร์นาโนจะช่วยลดแบคทีเรียที่เกิดขึ้นได้ โดยคาดว่า ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน เสื้อซิลเวอร์นาโน จะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างสูง
9.ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำการวิจัยเรื่อง “การผลิตเส้นใยนาโนในโพลิเมอร์ เพื่อการพัฒนาระบบนำส่งยาปฏิชีวนะ” โดยได้พัฒนาเส้นใยนาโนผสมยารักษาแผลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในการนำส่งยาเพื่อการรักษาโรค คาดว่าไม่เกิน 2 ปี จะแล้วเสร็จ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มีนาคม 2555 เวลา 16:02

    its nice to read a useful article for beginner like me. Some of points from this article are very helpful for me as I haven’t considered them yet. I would like to say thank you for sharing this cool article. Bookmarked and sharing for friends.
    1998 Mitsubishi Diamante AC Compressor

    ตอบลบ