วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

สาขาย่อยของนาโนเทคโนโลยี


สาขาย่อยของนาโนเทคโนโลยี

 นาโนเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชาด้วยกัน ดังนี้
     1.นาโนอีเล็กทรอนิกส์ (Nano Electronics) มีการวิจัยและพัฒนานาโนอีเล็กทรอนิกส์ในหลายแง่มุม ทั้งจากกลุ่มนักวิจัยในมหาวิทยาลัย จากห้องปฏิบัติการของหน่วยงานในภาครัฐและในภาคเอกชน มีการค้นคว้าตั้งแต่ระดับของสมบัติโมเลกุลเดี่ยว การประกอบเป็นอุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์  การสร้างวงจรอย่างง่ายๆ ไปจนถึงการพัฒนา “นาโนคอมพิวเตอร์” หรือคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว และการทำคอมพิวเตอร์ที่เร็วขึ้นล้านเท่า เป็นต้น
     2.นาโนเคมี (Nano Chemistry) กำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 เมื่อศาสตราจารย์ริชาร์ดสมอลลีย์ ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยไรช์ รัฐเทคซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบฟูลเลอร์ลีน และพัฒนาไปเป็นท่อนาโน ตลอดจนเฟืองนาโน อันเป็นต้นกำเนิดของเครื่องจักรนาโนหรือจุลจักรกลที่มีการศึกษากันอย่างกว้างขวางอยู่ในปัจจุบัน
 ตัวอย่างผลงานจากนาโนเคมีอีกหนึ่งตัวอย่างคือ คอนกรีตชนิดหนึ่งใช้เทคโนโลยีนาโน คือใช้ Biochemical ทำปฏิกิริยาย่อยสลายกับมลภาวะที่เกิดจากรถยนต์ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ในประเทศอังกฤษได้เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้างถนนและอุโมงค์ต่างๆ เพื่อลดมลภาวะบนท้องถนน และขณะเดียวกันเทคโนโลยีนาโน ทำให้อนุภาคคอนกรีตมีขนาดเล็กมาก ฝุ่น และแบคทีเรีย ไม่สามารถฝังตัวในเนื้อคอนกรีตได้ ทำให้อาคารที่ใช้คอนกรีตชนิดนี้ ดูใหม่เสมอ และยังคงไม่สะสมเชื้อโรค
     3.นาโนเทคโนโลยีชีวภาพ (Nano Biotechnology) เช่น การสร้างอาหารที่ไม่มีวันหมด การรักษาโรคมะเร็งโดยการดื่มเพียงน้ำผลไม้ที่มีหุ่นยนต์จิ๋วแบบที่มองไม่เห็น  การใช้หุ่นยนต์นาโนในการป้องกันเชื้อโรค ซ่อมแซมผนังเซลล์ รักษาอาการไขมันอุดตันในเส้นเลือด หรือการสร้างหุ่นยนต์นาโนที่สามารถเคลื่อนที่ในกระแสเลือดเพื่อเข้าทำลายเชื้อโรคหรือเซลล์มะเร็งในร่างกายโดยไม่ต้องมีการผ่าตัดที่เสี่ยงอันตราย  สำหรับในเมืองไทยเราจะเน้นทางด้านสร้างเสริมสุขภาพอนามัยเป็นหลัก โดยนำสิ่งที่เรามีบนผืนแผ่นดินไทย ซึ่งนับเป็นมรดกอันมีค่ามาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เนื่องจากเมืองไทยมีพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับมีนักวิทยาศาสตร์ไทย ที่มีความสามารถในการเพาะเลี้ยงอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าระดับโมเลกุล
     4.วัสดุนาโน (Nano Material) เรียกกันว่า “วัสดุสุดจิ๋ว” หรือ “วัสดุซูเปอร์จิ๋ว” คือเป็นวัสดุที่มีโครงสร้างที่มีขนาดเล็กกว่า 100 นาโนเมตร หรือเป็นการรวมตัวกันของอะตอมเป็นกลุ่มก้อนที่มีขนาดเล็กกว่า 100 นาโนเมตร และมีขนาดเล็กกว่าขนาดของอนุภาคทั่วๆไป 10,000 เท่า
     5.นาโนวิศวกรรม (Nano Engineering) เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่ การสร้างท่อนาโน (Nano Tube) แล้วอาจจะดัดแปลงนำมาใช้เป็นเกียร์และแบริ่ง สำหรับส่งกำลังในทางวิศวกรรมเครื่องกลระดับโมเลกุล


     นอกจากนี้ยังมีสาขาวิชาที่หลากหลาย
เช่น นาโนเซนเซอร์ (Nano Sensor) 
การแพทย์นาโน (Nano Medicine) เช่น การรักษาโรคมะเร็ง
นาโนมอเตอร์ (Nano Motor) หรือ นาโนอุปกรณ์ (Nano Device) 
นาโนยนต์ หรือหุ่นยนต์นาโน (Nano Robot) 
เกษตรกรรมยุคนาโน (Nano Agriculture)
อาหารยุคนาโน (Nano Food)
นาโนโซลาร์เซลล์ (Nano Solacell) และโรงงานนาโน (Nano Factory)
อนุภาคนาโน (Nanoparticle)
วัสดุผสมผสานนาโน (Nanocomposites)
เส้นใยนาโน (Nanofibers) 
โครงสร้างนาโนของคาร์บอน
โพรงนาโน (Nanotubes and Nanopores) 
ฟิล์มบางนาโน (Thin Fim Nanostructure)
ลูกคิดนาโน (Nanoabacus)  
เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น