วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์


          Nanotechnology จัดเป็นคลื่นลูกที่สามที่ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์และเภสัชกรรม รวมทั้งในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมอุตสาหกรรมการผลิต นักวิชาการจำนวนมากทำนายไว้ว่า Nanotechnology คลื่นลูกที่สามซึ่งตามมาหลังจากเทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology และเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnology นี้จะเป็นคลื่นที่มีความรุนแรงมากที่สุด แทบจะพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของโลกมนุษย์ในทศวรรษที่ 21 อย่างสิ้นเชิง และยังมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตรวมทั้งความเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติอย่างมากเกินกว่าที่หลายคนเคยคาดคิดกันไว้ก่อนหน้านี้
          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตระหนักความสำคัญของนาโนเทคโนโลยี Nanotechnology ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ จึงได้เสนอของบประมาณ 910 ล้านบาท ตั้งศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พร้อมจัดทำแผนแม่บทมุ่งส่งเสริมมหาวิทยาลัยให้ดำเนินการทำงานศึกษาวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ อาหาร การเกษตร และอิเล็กทรอนิกส์ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ในอนาคตนาโนเทคโนโลยีซึ่งเป็นเทคโนโลยีขนาดเล็กจะเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในเรื่องอุตสาหกรรมและทางการแพทย์ ดังนั้น สวทช.จึงได้จัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีจัดตั้งศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สังกัด สวทช. ซึ่งขณะนี้มีอยู่แล้ว 3 ศูนย์ คือ ศูนย์ไบโอเทค ศูนย์เอ็มเทค และศูนย์เนคเทค โดยรอเพียงให้ นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ลงนามรับรองเพื่อเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติต่อไปศ.ดร.ไพรัช กล่าวว่า ได้เสนอของบประมาณเพื่อจัดตั้งศูนย์จำนวน 910 ล้านบาท โดยแผนงาน ประกอบด้วย การผลิตบุคลากรและปรับปรุงหลักสูตรในสถาบันการศึกษา ซึ่งคาดว่าจะต้องผลิต บุคลากรให้ได้อย่างน้อย 300 คน ภายในระยะเวลา 5 ปี นอกจากนี้จะส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยผ่านทางมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งการทำแผนแม่บทนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย
          “ทั่วโลกให้ความสำคัญกับนาโนเทคโนโลยีมาก โดยประเทศที่ถือเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านนี้คือ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับอุตสาหกรรมทางด้านโลหะได้เป็นอย่างนี้ เช่น ด้านไบโอเทค ได้ค้นพบแบคทีเรียขนาดเล็ก เป็นสารชีวภาพ ที่เรียกว่าสาร ATPH นำมาพัฒนาเป็นมอเตอร์เครื่องมือขนาดเล็ก เพื่อนำยาหรือเครื่องมือในการรักษาโรค ไปยังจุดที่ร่างกายมีปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น จึงจะเป็นโอกาสดีในการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต โดยเฉพาะในส่วนของประเทศไทย ศูนย์ดังกล่าวน่าจะมีบทบาททางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ อาหาร การเกษตร และด้านอิเล็กทรอนิกส์ และยังสามารถเชื่อมโยงกับการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของไทยอีกด้วย”

หมวดหมู่ : แนวปฏิบัตและการใช้ชีวิต
ข้อมูลจาก : http://bioengineertalk.wordpress.com/2009/04/20/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น